นักลงทุนสัมพันธ์

Outstanding Investor Relations Awards 2017 & 2020

ชื่อย่อหุ้น RS
ราคาล่าสุด 12.90 THB
เปลี่ยนแปลง +0.10
% เปลี่ยนแปลง 0.78%
ปริมาณซื้อขาย 112,379
ช่วงราคาระหว่างวัน 12.70 - 12.90
ช่วงราคาใน 52 สัปดาห์ 12.00 - 15.20
ปรับปรุงเมื่อ 25 เม.ย. 2567 16:38

นโยบายการกำกับดูแลกิจการ

นโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวกับคณะกรรมการ

บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) มีความมุ่งมั่นที่จะยกระดับการกำกับดูแลกิจการ (Corporate Governance หรือ CG) ของบริษัทฯ ไปสู่แนวปฏิบัติที่ส่งเสริมคุณธรรม ความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ รวมถึงการกำกับดูแลกิจการที่เป็นไปเพื่อการสร้างคุณค่าให้กิจการอย่างยั่งยืน นอกเหนือจากการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ถือหุ้น นักลงทุน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยบริษัทฯ ได้ยึดหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2555 ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ควบคู่ไปกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียนปี 2560 หรือ Corporate Governance Code (CG Code) ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อให้เกิดการนำไปปรับใช้อย่างเหมาะสม และเป็นประโยชน์ต่อการสร้างคุณค่าให้แก่บริษัทฯ อย่างยั่งยืน

โดยในปี 2564 นี้ คณะกรรมการบรรษัทภิบาลและการพัฒนาอย่างยั่งยืนซึ่งเป็นคณะกรรมการชุดย่อย ได้นำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาปรับปรุง “นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี” ให้สอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี หรือ CG Code โดยมุ่งหวังให้เป็นแนวทางปฏิบัติที่ดีของคณะกรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับ รวมทั้งมีการพิจารณาทบทวนความเหมาะสมของการนำ CG Code ไปปรับใช้

นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี

โดยคณะกรรมการบริษัทได้กำหนดให้มีนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทฯ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร โดยจัดให้มีการพิจารณาทบทวนนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทฯ รวมถึงติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าวอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และบริษัทฯ ได้เผยแพร่ให้คณะกรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับต้องลงนามรับทราบในนโยบาย และยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติส่วนหนึ่งในการทำงาน เพื่อเป็นพันธสัญญาและนำไปยึดถือปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งเผยแพร่บนเว็บไซต์ของบริษัทฯ และช่องทางสื่อสารภายในของบริษัทฯ

ทั้งนี้ นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทฯทั้งฉบับ ได้เปิดเผยไว้บนเว็ปไซต์ของบริษัทฯ โดยกรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนสามารถเข้าไปอ่านเพื่อศึกษา และดาวน์โหลดได้ที่ https://ir.rs.co.th/storage/download/cg/20230127-rs-cg-policy-th.pdf

นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 6/2564 เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 ได้มีมติอนุมัติปรับปรุง “จรรยาบรรณธุรกิจ” เพื่อยกระดับและส่งเสริมบรรษัทภิบาลของบริษัทฯ และบริษัทย่อย (“อาร์เอส กรุ๊ป”) อย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งหมายให้กรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนในอาร์เอส กรุ๊ป ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจรรยาบรรณธุรกิจ มีความตระหนักถึงหน้าที่และความรับผิดชอบ สามารถนำแนวทางปฏิบัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับจรรยาบรรณธุรกิจไปใช้ได้ การรับเรื่องร้องเรียนและเบาะแสการกระทำผิดและการทุจริต (Whistleblower Policy) รวมทั้งได้กำหนดให้มีกระบวนการติดตามและการจัดการให้มีการปฏิบัติตามจรรยาบรรณธุรกิจ และทบทวนอย่างสม่ำเสมอ

คณะกรรมการบริษัทจึงได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการนำคู่มือจรรยาบรรณธุรกิจนี้ ออกเผยแพร่ผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ ของอาร์เอส กรุ๊ป และจัดให้ กรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงาน ได้รับการฝึกอบรมให้ความรู้และทบทวนความรู้เป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้อาร์เอส กรุ๊ป เป็นองค์กรที่มีความโปร่งใส เป็นที่ยอมรับของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับสากล รวมทั้งสร้างความเจริญเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืน

จรรยาบรรณธุรกิจ

โดยคณะกรรมการบริษัทได้กำหนดให้มีจรรยาบรรณธุรกิจของกลุ่มบริษัทฯ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร โดยจัดให้มีการพิจารณาจรรยาบรรณธุรกิจของกลุ่มบริษัทฯ รวมถึงติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าวอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และบริษัทฯ ได้เผยแพร่ให้คณะกรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับต้องลงนามรับทราบในนโยบาย และยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติส่วนหนึ่งในการทำงาน เพื่อเป็นพันธสัญญาและนำไปยึดถือปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งเผยแพร่บนเว็บไซต์ของบริษัทฯ และช่องทางสื่อสารภายในของบริษัทฯ

ทั้งนี้ จรรยาบรรณธุรกิจของกลุ่มบริษัทฯ ทั้งฉบับ ได้เปิดเผยไว้บนเว็ปไซต์ของบริษัทฯ โดยกรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนสามารถเข้าไปอ่านเพื่อศึกษา และดาวน์โหลดได้ที่ https://www.rs.co.th/category/policies_corporate_documents

นโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวกับผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสีย

บริษัทฯ ได้ปฏิบัติตามหลักการกากับดูแลกิจการที่ดี สำหรับบริษัทจดทะเบียนปี 2560 (Corporate Governance Code for Listed Companies 2017) ซึ่งกำหนดโดยคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี สำหรับบริษัทจดทะเบียนที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนด ครอบคลุมแนวทางปฏิบัติเป็น 5 หมวด ได้แก่ สิทธิของผู้ถือหุ้น การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ

สิทธิของผู้ถือหุ้น

บริษัทฯ ให้ความสำคัญในการดูแลและรักษาสิทธิของผู้ถือหุ้นทุกราย ดังนี้

  1. มีโครงสร้างระหว่างบริษัทฯ และบริษัทย่อยที่ไม่ซับซ้อน ไม่มีผู้ถือหุ้นร่วม ไม่มีผู้ถือหุ้นไขว้ และไม่มีโครงสร้างการถือหุ้นแบบปิรามิดในกลุ่มของบริษัทฯ เพื่อให้ผู้ถือหุ้นมั่นใจได้ว่าจะได้รับผลตอบแทนครบถ้วน
  2. ดูแลและสนับสนุนให้ผู้ถือหุ้นทุกราย ไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้ถือหุ้นรายบุคคล นักลงทุนสถาบัน หรือผู้ถือหุ้นต่างชาติได้รับสิทธิพื้นฐานและการปฏิบัติในการรักษาสิทธิของผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน ได้แก่ สิทธิในการซื้อขายหรือโอนหุ้น สิทธิที่จะได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องชัดเจน สิทธิในการเข้าร่วมประชุมและลงมติอนุมัติการเข้าทำรายการที่สำคัญ สิทธิในการแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการบริษัทฯ สิทธิในการกำหนดอัตราค่าตอบแทนคณะกรรมการบริษัท สิทธิในการแต่งตั้งหรือถอดถอนผู้สอบบัญชีและกำหนดค่าสอบบัญชี สิทธิในการได้รับส่วนแบ่งกำไร สิทธิในการเข้าร่วมการตัดสินใจและรับทราบถึงผลการตัดสินใจของบริษัทฯ ที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในปัจจัยพื้นฐานของบริษัทฯ ด้วยการเผยแพร่สารสนเทศ รายละเอียดการใช้สิทธิในเรื่องต่างๆ ผ่านระบบข่าวของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและเว็บไซต์ของบริษัทฯ โดยคำนึงถึงความเท่าเทียมกันในการรับรู้ข่าวสาร ระยะเวลาการใช้สิทธิ และความสะดวกในการใช้สิทธิดังกล่าว โดยไม่กระทำการใดๆ ที่เป็นการจำกัดสิทธิในการเข้าถึงสารสนเทศของบริษัทฯ หรือปิดกั้นการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ถือหุ้นด้วยกัน

การประชุมผู้ถือหุ้น

  1. การประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ทุกครั้ง จัดขึ้นในวัน เวลา และสถานที่ที่คำนึงถึงความสะดวกของผู้ถือหุ้นที่จะเข้าร่วมประชุม โดยบริษัทฯ จัดให้มีการประชุมในวันและเวลาทำการ
        ในปี 2564 บริษัทฯ จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ในวันที่ 19 เมษายน 2564 เริ่มประชุมเวลา 10.00 น. ณ สำนักงานใหญ่ของบริษัทฯ โดยมีระบบขนส่งมวลชนเข้าถึงและเพียงพอ พร้อมทั้งได้จัดทำแผนที่ ข้อมูลการเดินทาง และรถรับส่งมายังสถานที่จัดการประชุม โดยจัดทำเป็นเอกสารแนบในหนังสือเชิญประชุมและนำส่งให้แก่ผู้ถือหุ้นทุกรายที่มีสิทธิเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อให้ผู้ถือหุ้นสามารถเดินทางเข้าร่วมการประชุมได้สะดวก
  2. ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2564 กรรมการที่อยู่ในตำแหน่งได้เข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นครบทุกท่าน (ดูรายละเอียดรายชื่อกรรมการบริษัทที่เข้าประชุมผู้ถือหุ้น ได้ที่รายงานการประชุมผู้ถือหุ้น)

การดำเนินการก่อนวันประชุม

  1. บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นนายทะเบียนหุ้นของบริษัทฯ เป็นผู้จัดส่งหนังสือเชิญประชุมให้แก่ผู้ถือหุ้น โดยบริษัทฯ ได้จัดส่งหนังสือเชิญประชุมให้ผู้ถือหุ้นทราบในวันที่ 29 มีนาคม 2564 ซึ่งเป็นการจัดส่งล่วงหน้า 22 วันก่อนวันประชุม ซึ่งอยู่ในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด โดยในแต่ละวาระมีการระบุถึงหลักการและเหตุผลและความเห็นของคณะกรรมการบริษัท
  2. เผยแพร่หนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้น รายงานประจาปี เอกสารประกอบการประชุมทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไว้ที่เว็บไซต์ของบริษัทฯ ที่ http://ir.rs.co.th ในวันที่ 19 มีนาคม 2564 ก่อนวันประชุม 31 วัน เพื่อให้ผู้ถือหุ้นมีเวลาเพียงพอในการพิจารณาข้อมูลต่างๆ

การดำเนินการในวันประชุมผู้ถือหุ้น

  1. นำเทคโนโลยีบาร์โค้ดมาใช้กับการประชุมผู้ถือหุ้น ทั้งการลงทะเบียน การนับคะแนนและแสดงผล เพื่อให้การดำเนินการประชุมสามารถกระทำได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และแม่นยำ
  2. ก่อนเริ่มประชุมประธานในที่ประชุมได้มอบหมายให้เลขานุการบริษัทชี้แจงวิธีการออกเสียงลงคะแนนให้ที่ประชุมทราบ และสนับสนุนให้มีการใช้บัตรลงคะแนนเสียงในวาระที่สำคัญ เพื่อความโปร่งใสและตรวจสอบได้
  3. ให้สิทธิผู้ถือหุ้นมากกว่าสิทธิตามกฎหมายกำหนด เช่น การให้ข้อมูลสำคัญที่เป็นปัจจุบันผ่านเว็บไซต์ของบริษัทฯ ไม่มีการลิดรอนสิทธิของผู้ถือหุ้นในการศึกษาสารสนเทศของบริษัทฯ ที่ต้องเปิดเผยตามข้อกำหนด และที่ประชุมได้ทำการพิจารณาเรื่องต่างๆ ตามลำดับระเบียบวาระที่ได้กำหนดไว้ในหนังสือเชิญประชุมโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงลำดับวาระการประชุมเชิญประชุม ไม่เปลี่ยนแปลงข้อมูลสำคัญโดยไม่ได้แจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้า ไม่แจกเอกสารที่มีข้อมูลสำคัญเพิ่มเติมอย่างกะทันหัน และไม่จากัดสิทธิในการเข้าประชุมของผู้ถือหุ้นที่มาสาย เป็นต้น
  4. ประธานในที่ประชุมได้เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นมีสิทธิอย่างเท่าเทียมกันในการสอบถาม แสดงความคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่างๆ ก่อนที่จะลงมติในแต่ละวาระ
  5. เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นส่งคำถามล่วงหน้าก่อนวันประชุมผ่านช่องทางต่างๆ ได้แก่ เว็บไซต์ของบริษัทฯ ที่ www.rs.co.th อีเมล cs@rs.co.th การส่งจดหมายถึงคณะกรรมการบริษัท หรือสำนักกฎหมาย บริษัท อาร์เอส จากัด (มหาชน)” เลขที่ 27 อาคารอาร์เอสกรุ๊ป ทาวเวอร์ เอ ถนนประเสริฐมนูกิจ แขวงเสนานิคม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 ซึ่งการให้สิทธิของผู้ถือหุ้นและการส่งเสริมให้ผู้ถือหุ้นใช้สิทธิเป็นไปตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี

การดำเนินการหลังวันประชุมผู้ถือหุ้น

  1. แจ้งมติของที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2564 เพื่อให้ผู้ถือหุ้นสามารถตรวจสอบผลการลงมติได้ภายในวันเดียวกันกับวันจัดประชุมผู้ถือหุ้น พร้อมทั้งระบุจำนวนคะแนนเสียง เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย งดออกเสียง และบัตรเสีย ในแต่ละวาระการประชุม โดยแจ้งไปยังตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเปิดเผยไว้บนเว็บไซต์ของบริษัทฯ
  2. จัดทำรายงานการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นอย่างถูกต้องและครบถ้วน โดยบันทึกรายละเอียดในเรื่องต่างๆ เช่น วิธีการลงคะแนนและนับคะแนน มติที่ประชุมซึ่งระบุคะแนนเสียงเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย งดออกเสียง และบัตรเสีย (ถ้ามี) ในแต่ละวาระ รายชื่อพร้อมทั้งตำแหน่งของกรรมการ ผู้บริหาร ผู้สอบบัญชี และผู้ตรวจสอบการนับคะแนนเสียงที่เข้าร่วมประชุม สรุปสาระสำคัญของข้อซักถาม ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะของผู้ถือหุ้น รวมทั้งคำชี้แจงของกรรมการและผู้บริหารที่ได้ตอบข้อซักถามของผู้ถือหุ้นในแต่ละวาระ
  3. จัดส่งรายงานการประชุมให้แก่กระทรวงพาณิชย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมถึงเผยแพร่บนเว็บไซต์ของบริษัทฯ เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2564 ซึ่งเป็นการเผยแพร่ภายใน 14 วันนับแต่วันประชุม ตามเวลาที่กฎหมายกำหนด และมีระบบการจัดเก็บรายงานการประชุมที่ดีเพียงพอ เพื่อให้ผู้ถือหุ้นทั้งที่เข้าร่วมและไม่ได้เข้าร่วมการประชุมสามารถตรวจสอบได้

การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน

  1. หนังสือเชิญประชุมมีรายละเอียดของระเบียบวาระการประชุม เอกสารประกอบอย่างเพียงพอครบถ้วนต่อการใช้สิทธิของผู้ถือหุ้น ระบุชัดเจนว่าเป็นเรื่องเสนอเพื่อทราบหรือเพื่ออนุมัติ ระบุความเห็นของคณะกรรมการ กฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ใช้ในการประชุม แผนที่และรายละเอียดของสถานที่ประชุม เอกสารที่ผู้เข้าร่วมประชุมต้องแสดงก่อนเข้าประชุมและการมอบฉันทะ พร้อมแนบหนังสือมอบฉันทะตามแบบที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด เพื่อรักษาสิทธิในการเข้าประชุม
  2. ก่อนเริ่มเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุม เลขานุการที่ประชุมได้แจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบถึงกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ใช้ในการประชุม ประเภทของหุ้น สิทธิการออกเสียงลงคะแนน ขั้นตอนการออกเสียงลงมติ วิธีการนับและแสดงผลคะแนน

การคุ้มครองสิทธิของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย

  1. บริษัทฯ ได้ทำการเสนอชื่อและข้อมูลของกรรมการอิสระเป็นทางเลือกให้ผู้ถือหุ้นที่ไม่สะดวกเข้าร่วมประชุมด้วยตนเอง ได้พิจารณาในการมอบฉันทะให้กรรมการอิสระเข้าประชุมและลงคะแนนเสียงแทน โดยชี้แจงให้ผู้ถือหุ้นได้ทราบด้วยว่ากรรมการอิสระดังกล่าวมีส่วนได้เสียในระเบียบวาระใดบ้าง โดยในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2564 มีผู้ถือหุ้นจำนวน 360 ราย ได้มอบฉันทะให้กรรมการอิสระที่บริษัทฯ เสนอเป็นผู้รับมอบฉันทะ
  2. เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ถึง 30 ธันวาคม 2563 บริษัทฯ ได้เผยแพร่ข้อมูลบนเว็บไซต์ของ บริษัทฯ เกี่ยวกับการเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นส่วนน้อยสามารถเสนอเรื่องเพื่อพิจารณาบรรจุเป็นวาระการประชุม และเสนอชื่อบุคคลเพื่อพิจารณาเข้ารับการเลือกตั้งเป็นกรรมการ พร้อมข้อมูลด้านคุณสมบัติและการให้ความยินยอมของผู้ได้รับการเสนอชื่อ เมื่อครบกำหนดแล้วปรากฏว่า “ไม่มีการเสนอเรื่องเพื่อบรรจุเป็นวาระการประชุม และไม่มีการเสนอชื่อบุคคลเพื่อพิจารณาเข้ารับการเลือกตั้งเป็นกรรมการ”

การใช้ข้อมูลภายในเพื่อแสวงหาผลประโยชน์

บริษัทฯ ถือว่าข้อมูลภายใน ข้อมูลในการดำเนินธุรกิจทั้งหมดที่ยังไม่ได้ทำการเปิดเผยสู่สาธารณะ เป็นข้อมูลที่สำคัญและเป็นข้อมูลลับหากทาการเปิดเผยย่อมมีผลกระทบต่อบริษัทฯ ดังนั้นบุคคลากรของบริษัทฯ จึงต้องรักษาข้อมูลภายในไว้เป็นความลับ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตให้เปิดเผย หรือเมื่อกฎหมายบังคับให้ทำการเปิดเผย

ดังนั้น บริษัทฯ จึงกำหนดนโยบายให้มีการเก็บรักษาข้อมูลภายในให้เป็นความลับระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น รวมทั้งกำหนดบทลงโทษอย่างร้ายแรงสำหรับผู้ที่นำข้อมูลภายในของบริษัทฯ ไปใช้เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ โดยรายละเอียด ดังนี้

  1. กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ต้องไม่ใช้หรือให้ข้อมูลภายใน ข้อมูลคู่ค้าทางธุรกิจของบริษัทฯ แก่บุคคลอื่นเพื่อแสวงหาประโยชน์ของตนเอง โดยกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ต้องร่วมกันรักษาความลับและข้อมูลภายในส่วนที่รับผิดชอบไม่ให้รั่วไหลไปยังบุคคลภายนอก รวมทั้งบุคคลภายในของบริษัทฯ ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง
  2. มีการจำกัดการเข้าถึงข้อมูลภายในที่ยังไม่เปิดเผยต่อสาธารณชน โดยให้รับรู้เฉพาะบุคคลที่เกี่ยวข้องเท่านั้น
  3. การเปิดเผยข้อมูลของบริษัทฯ ต้องกระทำโดยบุคคลที่มีหน้าที่ในการเปิดเผยข้อมูลเท่านั้น
  4. กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคน มีหน้าที่ในการป้องกันรักษาข้อมูลภายใน และไม่แสวงหาผลประโยชน์จากข้อมูลภายในที่ได้รับทราบ แม้ว่าจะพ้นสภาพการเป็นพนักงานของบริษัทฯ ไปแล้ว
  5. กรรมการ และผู้บริหารระดับสูง มีหน้าที่รายงานการถือครองหลักทรัพย์ และรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือครองหลักทรัพย์ตามมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 ภายใน 3 วันทำการ นับจากวันที่ซื้อ ขาย โอน หรือรับโอนหลักทรัพย์ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และสำเนาให้ฝ่ายกฎหมายรับทราบเพื่อทำการรวบรวมและรายงานต่อคณะกรรมการบริษัทเป็นประจำ รวมทั้งให้มีการเปิดเผยในรายงานประจำปีอย่างถูกต้อง
  6. กรรมการและผู้บริหารระดับสูงควรหลีกเลี่ยงการซื้อ ขาย โอน หรือรับโอนหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ในช่วง 3 สัปดาห์ก่อนที่งบการเงินของบริษัทฯ จะเปิดเผยต่อสาธารณะ และควรรอให้พ้น 48 ชั่วโมงจึงเริ่มทำการซื้อขายตามปกติ
  7. บุคคลที่เปิดเผยข้อมูลภายในที่ยังไม่ได้รับอนุญาต และข้อมูลที่ยังไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะ จนส่งผลเสียหายต่อบริษัทฯ บุคคลผู้นั้นต้องรับผิดทางกฎหมาย

โดยข้อกำหนดนี้รวมความถึงคู่สมรสหรือผู้ที่อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือบุตรบุญธรรม และพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน หรือพี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน ของกรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และลูกจ้างของบริษัทฯ พนักงานคนใดฝ่าฝืนในระเบียบดังกล่าวบริษัทฯ จะถือว่าได้กระทำผิดอย่างร้ายแรงโดยอาจมีโทษตั้งแต่ขั้นตักเตือนด้วยวาจาจนถึงขั้นให้ออกจากงาน

หมายเหตุ ผู้บริหารตามนิยามของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ที่มีหน้าที่รายงานการเปลี่ยนแปลงการถือครองหลักทรัพย์ตามกฎหมาย โดยหมายรวมถึงทุกหลักทรัพย์ เช่น หุ้นสามัญ หรือใบสำคัญแสดงสิทธิ เป็นต้น

ทรัพย์สินทางปัญญาหรือลิขสิทธิ์

บริษัทฯ ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญเกี่ยวกับสินทรัพย์ทางปัญญาและลิขสิทธิ์ โดยมีการกำหนดอย่างชัดเจนที่จะไม่กระทำการใดๆ ที่จะเป็นการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ไม่ว่าจะเป็นทางด้านความคิด นวัตกรรม ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร หรือเครื่องหมายการค้า โดยสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

  1. พนักงานทุกคนมีหน้าที่รักษาความลับทางการค้า ได้แก่ ข้อมูลทางธุรกิจ และข้อมูลทางเทคนิคของบริษัทฯ ซึ่งพนักงานต้องปกป้องรักษาข้อมูลที่เป็นความลับของบริษัทฯ หรือคู่ค้าทางธุรกิจของบริษัทฯ โดยภาระหน้าที่ในการปกป้องรักษาข้อมูลนี้จะต่อเนื่องไปจนถึงเมื่อพนักงานได้ออกจากบริษัทฯ แล้ว
  2. พนักงานทุกคนมีหน้าที่ปกป้อง คุ้มครอง รักษาทรัพย์สินทางปัญญาที่บริษัทฯ เป็นเจ้าของ ให้พ้นจากการถูกละเมิดหรือถูกนาไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต
  3. บริษัทฯ จะเคารพและไม่ล่วงละเมิดในทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งของพนักภายในและบุคคลภายนอก
  4. ส่งเสริมให้ผู้บริหารและพนักงานมีการคิดสร้างสรรค์ผลงานทางทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อประโยชน์ของบริษัทฯ

การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส

บริษัทฯ ตระหนักดีว่าข้อมูลของบริษัทฯ ในทุกด้านส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุนและผู้มีส่วนได้เสียทุกส่วน จึงมีนโยบายการเปิดเผยข้อมูลทั้งที่เป็นและไม่เป็นข้อมูลทางการเงิน ด้วยสาระที่สำคัญคือถูกต้อง ครบถ้วน โปร่งใส และทันเวลา ทุกฝ่ายสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างเท่าเทียมกัน โดยผ่านช่องทางที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย

  1. ผู้บริหารสูงสุดมอบหมายให้ผู้มีหน้าที่เปิดเผยข้อมูลเป็นผู้ดำเนินการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทฯ และมีหน่วยงานกลางเป็นผู้ให้ข้อมูลแก่สาธารณชนและบุคคลทั่วไป ได้แก่ หน่วยงานภาพลักษณ์และสื่อสารองค์กร นักลงทุนสัมพันธ์ และเลขานุการบริษัท เป็นต้น
  2. การเปิดเผยข้อมูลเป็นไปตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลต่อผู้ถือหุ้นและสาธารณชนอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งนอกจากเผยแพร่ผ่านช่องทางเว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแล้ว ยังทำการเผยแพร่ไว้ในเว็บไซต์ของบริษัทฯ ซึ่งจัดทำเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษอย่างครบถ้วนอีกด้วย
    • ข้อมูลที่เปิดเผยอย่างสม่ำเสมอ ได้แก่ วิสัยทัศน์ ฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน รวมทั้งข้อมูลในรายงานประจำปี
    • ข้อมูลที่จะไม่เปิดเผยข้อมูลที่มีนัยสำคัญ ที่ยังไม่ได้เปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณชน ให้แก่พนักงานที่ไม่ได้รับอนุญาต กลุ่มบุคคล หรือบุคคลอื่นใด (รวมถึงนักลงทุน สื่อมวลชนและนักวิเคราะห์) จนกว่าข้อมูลจะได้รับการเปิดเผยแก่สาธารณชนแล้ว
    • ในบางสถานการณ์ บริษัทฯ อาจมีความจำเป็นในการพิจารณาเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณชนด้วยเหตุผลทางธุรกิจ เช่น หากเปิดเผยข้อมูลจะมีผลต่อการเจรจาต่อรองทางธุรกิจของบริษัทฯ
  3. การจัดทำรายงานทางการเงิน
    แสดงความรับผิดชอบด้วยการจัดทำรายงานทางการเงินอย่างถูกต้อง ครบถ้วน โปร่งใส และทันเวลา เพื่อรักษาไว้ซึ่งทรัพย์สินของบริษัทฯ จากการสูญหายหรือนาไปใช้โดยบุคคลที่ไม่มีอำนาจ ป้องกันการทุจริตและการดำเนินการที่ผิดปกติ เป็นไปตามมาตรฐานทางบัญชีที่รับรองทั่วไปในประเทศไทย และปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียมีความเชื่อมั่นในรายงานทางการเงิน คณะกรรมการบริษัทจึงได้มอบหมายให้คณะกรรมการตรวจสอบทำหน้าที่กำกับดูแลการจัดทำรายงานทางการเงิน ให้มีการใช้นโยบายทางบัญชีที่เหมาะสม รวมทั้งสอบทานความถูกต้องและความเพียงพอของรายงานทางการเงิน
    คณะกรรมการตรวจสอบกำหนดให้มีการประชุมร่วมกับผู้สอบบัญชี โดยไม่มีฝ่ายบริหารเข้าร่วมประชุมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อสอบถามและขอความคิดเห็นจากผู้สอบบัญชีในเรื่องต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีการจัดทำรายงานความรับผิดชอบของคณะกรรมการต่อรายงานทางการเงิน ซึ่งครอบคลุมเรื่องสำคัญตามข้อพึงปฏิบัติสาหรับคณะกรรมการบริษัทที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้เสนอแนะไว้ โดยแสดงควบคู่กับรายงานของผู้สอบบัญชีในรายงานประจำปี
  4. หน่วยงานนักลงทุนสัมพันธ์ กล่าวถึงในหัวข้อ 7.6.2

จรรยาบรรณธุรกิจ

บริษัทฯ จัดให้มีคู่มือจรรยาบรรณธุรกิจ (Code of Conduct) เพื่อให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานในกลุ่มบริษัทฯ มีกรอบการดำเนินงานที่มีมาตรฐานร่วมกันและยึดมั่นในคุณธรรม ตลอดจนคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ นโยบายจรรยาบรรณธุรกิจของบริษัทฯ ระบุหลักการที่สำคัญประกอบด้วย การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ความเสมอภาคกับสิทธิมนุษยชนแก่ผู้เกี่ยวข้อง การไม่ล่วงละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาหรือลิขสิทธิ์ ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม การปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสีย การรักษาข้อมูลและทรัพย์สิน และการดูแลการใช้ข้อมูลภายใน โดยบริษัทฯ มีการสื่อสารและทบทวนปรับปรุงแก้ไขจรรยาบรรณธุรกิจเป็นประจำทุกปี นอกจากนี้ได้มีการเผยแพร่จรรยาบรรณธุรกิจฉบับเต็มไว้ในเว็บไซต์ของบริษัทฯ

บริษัทฯ ได้มีสื่อสารอย่างชัดเจนเรื่องของค่านิยมหลัก วัฒนธรรมองค์กร ทั้งการสื่อสารภายในและการสื่อสารภายนอก โดยบริษัทฯ เสริมสร้างความเข้าใจ และส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมที่สอดคล้องไปกับค่านิยมหลัก และวัฒนธรรมองค์กร ทั้งในเรื่องของการทำงานและการใช้ชีวิตประจาวัน จนสามารถเรียกว่า เป็น DNA ของพนักงานได้ในที่สุด

กระบวนการที่สนับสนุนสิ่งเหล่านี้ คือ ความชัดเจนเรื่องความแน่วแน่ที่เป้าหมาย การใช้หลักการบริหารของผู้นำ การนำให้เป็นแบบอย่าง การให้การสนับสนุน พัฒนาบุคลากรของบริษัทฯ รวมถึงมีการประเมินผลของพนักงานและหัวหน้าเฉพาะด้านการมีบทบาทที่ส่งเสริมการใช้ค่านิยมหลักและวัฒนธรรมมาเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานอย่างมีจรรยาบรรณ

การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการที่สำคัญของนโยบาย แนวปฏิบัติ และระบบการกำกับดูแลกิจการในรอบปีที่ผ่านมา

  1. บริษัทฯ ได้รับการจัดอันดับ ห้าดาว หรือ ระดับดีเลิศ สำหรับโครงการสำรวจการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียนไทย (CGR) ประจาปี 2564 โดยสถาบันส่งเสริมกรรมการบริษัทไทย (IOD)
  2. ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 2/2564 มีมติอนุมัติการยื่นคำประกาศเจตนารมณ์เข้าร่วมแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (CAC) และบริษัทฯ ได้ยื่นประกาศเจตนารมณ์เข้าร่วมกับ CAC แล้วเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2564

การทบทวนนโยบายแนวปฏิบัติ และระบบการกำกับดูแลกิจการ

บริษัทฯ ได้มีการปรับปรุงนโยบายแนวปฏิบัติและระบบการกำกับดูแลกิจการอย่างต่อเนื่อง ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 6/2564 เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 ได้มีการพิจารณาทบทวน ปรับปรุงคู่มือจรรยาบรรณของบริษัทฯ เพื่อยกระดับและส่งเสริมบรรษัทภิบาลของบริษัทฯ และบริษัทย่อย (“อาร์เอส กรุ๊ป”) อย่างต่อเนื่อง

การนำหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียนปี 2560 ไปปรับใช้

ตลอดปี 2564 บริษัทฯ ได้ปฏิบัติตามหลักการกากับดูแลกิจการที่ดี แต่อาจไม่ครอบคลุมตามเกณฑ์ ในเรื่องดังต่อไปนี้

  1. ไม่ได้เปิดเผยค่าตอบแทนของกรรมการที่เป็นผู้บริหารในส่วนที่ได้รับจากการเป็นกรรมการบริษัทอื่น เพราะไม่ใช่ข้อมูลของบริษัทฯ
  2. ประธานกรรมการเป็นบุคคลเดียวกับประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และเป็นตัวแทนของกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ อย่างไรก็ตาม โครงสร้างคณะกรรมการของบริษัท ประกอบด้วย กรรมการที่เป็นอิสระ 3 ใน 8 ของกรรมการทั้งคณะ ทำให้เกิดการถ่วงดุลและสอบทานการบริหารงานที่โปร่งใสและรัดกุม
  3. คณะกรรมการไม่ได้กำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการอิสระไว้ให้ไม่เกิน 9 ปี เนื่องจากมีความเห็นว่า กรรมการอิสระเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ และมีประสบการณ์มาก ดังนั้น การดำรงตำแหน่งกรรมการเป็นเวลานานจะช่วยให้เข้าใจการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ได้ดียิ่งขึ้น
  4. บริษัทฯ ไม่ได้กำหนดวิธีการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งกรรมการโดยการลงคะแนนเสียงแบบสะสม (Cumulative Voting) เนื่องจากบริษัทฯ มีข้อบังคับในการออกเสียงลงคะแนนให้หุ้นหนึ่งหุ้นมีเสียงหนึ่งเสียง อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ได้เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเสนอวาระการประชุมล่วงหน้า หรือเสนอชื่อบุคคลเพื่อพิจารณาเข้ารับการเลือกตั้งเป็นกรรมการบริษัทในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจาปี ผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัทฯ ได้ล่วงหน้า

ข้อมูลปฏิบัติในเรื่องอื่นๆ ตามหลักการกำกับกิการที่ดี เพื่อรองรับการประเมิน

  1. ไม่เป็น บริษัทฯ ที่มีการทำรายการเกี่ยวโยงที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งหน่วยงานทางการแจ้งเตือนให้ผู้ลงทุนใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจ
  2. ไม่เป็น บริษัทฯ ที่เข้าข่ายฝ่าฝืนเกณฑ์เรื่องการดำรงสถานะการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่องกรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ
  3. ไม่เป็น บริษัทฯ ที่มีพฤติกรรมการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ผิดปกติโดยการกระทำของกรรมการ หรือผู้บริหารที่ได้รับการตัดสินและประกาศความผิดจากสำนักงาน ก.ล.ต./li>

ในการนี้ คณะกรรมการบริษัทได้จัดให้มีการจัดทำ “นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี” และ “จรรยาบรรณธุรกิจ” โดยการเผยแพร่ไว้บนเว็บไซต์ของบริษัทฯ เพื่อให้บุคคลภายนอกและผู้มีส่วนได้เสียทุกส่วนได้รับทราบ และยังใช้ในการสื่อสารภายในบริษัทฯ เพื่อให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ศึกษาทาความเข้าใจและสามารถนาไปใช้เป็นกรอบในการดาเนินงานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

สอบถามข้อมูลนักลงทุน

Contact us