นักลงทุนสัมพันธ์

Outstanding Investor Relations Awards 2017 & 2020

ชื่อย่อหุ้น RS
ราคาล่าสุด 12.70 THB
เปลี่ยนแปลง -0.20
% เปลี่ยนแปลง -1.55%
ปริมาณซื้อขาย 2,596,213
ช่วงราคาระหว่างวัน 12.70 - 13.00
ช่วงราคาใน 52 สัปดาห์ 12.70 - 15.50
ปรับปรุงเมื่อ 29 มี.ค. 2567 16:36

สาระความรู้ by IR

"กู้" อย่างไรให้ผ่าน ถ้าเป็นหนี้ NPL

หนี้เสีย หรือ NPL คืออะไร ทำไมถึงมีผลต่อการตัดสินใจปล่อยสินเชื่อของธนาคาร

NPL หรือ Non-Performing Loan คือ เงินให้สินเชื่อที่ค้างชำระเงินต้นเกิน 90 วัน หรือที่เรียกกันว่า “หนี้เสีย” โดย NPL เกิดจากเงินให้สินเชื่อ หรือเงินที่ธนาคารให้กู้ ที่ค้างชำระเงินต้นจนลูกหนี้ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขการชำระเงินได้ หรือเรียกง่ายๆว่า “จ่ายหนี้ไม่ไหว” และมีผลต่อการตัดสินใจปล่อยสินเชื่อจากธนาคาร ทำให้กลุ่มคนที่ติด NPL นั้น ธนาคารจะมีความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ส่งผลให้การขอสินเชื่อมีโอกาสถูกปฏิเสธ โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีรายได้น้อยถึงปานกลาง เพราะธนาคารจำเป็นต้องพยายามควบคุมไม่ให้มีตัวเลข NPL สูงขึ้นมากกว่าเดิม ซึ่งอาจจะส่งผลต่อเศรษฐกิจในภาพรวมได้

เครดิตบูโร ไม่ใช่ แบล็กลิส แต่เกี่ยวกับ NPL อย่างไร

เครดิตบูโร หรือ “บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (National Credit Bureau “NCB”)” เป็นสถาบันที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการจัดเก็บข้อมูลบัญชีสินเชื่อและประวัติการชำระสินเชื่อทุกประเภทของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ซึ่งส่งมาจากสถาบันการเงินทั้งเอกชนและภาครัฐ รวมถึงบริษัทที่เป็นสมาชิกเครดิตบูโร โดยข้อมูลที่จัดเก็บหรือรายงานในเครดิตบูโรแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1) ข้อมูลส่วนบุคคลที่บ่งชี้ถึงลูกค้าคนนั้นๆ เช่น ชื่อ-นามสกุล บัตรประชาชน และวันเดือนปีเกิด 2) ข้อมูลสินเชื่อ ที่ได้รับอนุมัติและประวัติการชำระหนี้ จำแนกเป็นรายบัญชีที่มีอยู่ในแต่ละสถาบันการเงินและบริษัทสมาชิก

เครดิตบูโรจึงมีหน้าที่จัดเก็บรักษารวบรวมและประมวลผลข้อมูลสินเชื่อของลูกค้าสถาบันการเงินตามที่สถาบันการเงินหรือบริษัทที่เป็นสมาชิกจัดเท่าให้เท่านั้น ไม่ได้มีหน้าที่ "ขึ้นบัญชีดำ" หรือ “แบล็คลิส (Blacklist)” อย่างที่หลายๆคนเข้าใจกัน

เครดิตบูโร มีเกี่ยวข้องกับ NPL หรือหนี้เสีย เนื่องจากการเก็บรวบรวมข้อมูลสินเชื่อนั้น เพื่อทำการช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มประสิทธิภาพในการให้อนุมัติสินเชื่อ และป้องกันปัญหาหนี้เสียในระบบเศรษฐกิจ หรือ NPL ดังนั้น หากลูกค้าที่มีพฤติกรรมการชำระหนี้ไม่ดี และค้างชำระจะถูกส่งมาที่เครดิตบูโรทั้งหมด ธนาคารจะทราบทันทีว่าเป็นลูกค้าประเภทไหน และควรปล่อยสินเชื่อให้หรือไม่ ทั้งนี้ ลูกค้าจะไม่อนุญาตให้ธนาคารนำข้อมูลไปเปิดเผยได้ ซึ่งจะะมีทั้งผลดีและผลเสีย หากเป็นลูกหนี้ดีการขอสินเชื่อก็จะง่ายเเละรวดเร็ว แต่หากไม่อนุญาตให้ธนาคารนำข้อมูลนี้ไปเปิดเผย การขอสินเชื่อก็จะยากมากขึ้นเพราะธนาคารจะตีความว่าลูกค้ามีพฤติกรรมการชำระหนี้ไม่ดี แม้ว่าลูกค้าคนนั้นๆ จะมีพฤติกรรมการชำระหนี้ปกติก็ตาม

ไม่ชำระหนี้บ่อยๆ จนติด NPL มีผลเสียอย่างไร

การไม่ชำระหนี้จนเป็นกลายเป็นหนี้เสีย ผู้กู้จะได้รับสินเชื่อยากขึ้นสำหรับการขอสินเชื่อในครั้งต่อๆ ไป เพราะทางสถาบันการเงินทุกแห่งจะประเมินความเสี่ยงกลุ่มลูกค้าที่ไม่ยอมจ่ายหนี้ และสามารถขอดูพฤติกรรมการชำระหนี้ และการใช้จ่าย โดยส่วนมากจะดูจากเครดิตบูโรนั่นเอง รวมถึงพิจารณาคะแนนเครดิต (Credit Scoring) ของแต่ละบุคคล หรือ หลักประกัน ประกอบกับในช่วงนี้ที่มีสถานการณ์โควิด-19 ทำให้การได้รับสินเชื่อยากมากยิ่งขึ้นไปอีก และจะส่งผลให้ดอกเบี้ยเงินกู้สูงกว่าคนที่มีพฤติกรรมการชำระหนี้ปกติ ตามต้นทุนของธนาคารที่เพิ่มขึ้นจากตั้งสำรองเงินตามเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธนาคารต้องกันเงินมาตั้งไว้โดยที่ธนาคารห้ามนำไปใช้)

แล้วจะ “กู้” อย่างไรให้ผ่าน ถ้าเป็นหนี้ NPL

หากเราไม่ชำระหนี้จนกลายเป็น หนี้เสียแล้วนั้น มาดูข้อปฏิบัต 4 ขั้นตอนจากทางธนาคารกสิกรไทย ดังนี้

  1. เจรจาหาทางออกร่วมกับสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้เพื่อแก้ปัญหา ยิ่งเร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งดี เพราะอาจแก้ปัญหาได้ก่อนที่จะกลายเป็นหนี้เสีย หรือหากเป็นไปแล้ว ก็ยังสามารถเจรจากันได้ ที่เรียกว่า “การประนอมหนี้” ได้แก่ การยืดระยะเวลาการจ่ายหนี้ออกไปด้วยการลดจำนวนเงินที่ต้องผ่อนชำระในแต่ละเดือนลง การขายทรัพย์เพื่อชำระหนี้บางส่วน หรืออื่นๆ แล้วแต่กรณี
  2. มุ่งมั่นแก้ไขปัญหา สะท้อนความตั้งใจ เพราะปัจจัยในการพิจารณาให้สินเชื่อของธนาคารจะดูที่ความตั้งใจในการชำระหนี้เป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นการให้ความร่วมมือในการจ่ายหนี้ หรือการปฏิบัติตามเงื่อนไขการผ่อนชำระอย่างเคร่งครัดก็ตาม
  3. สร้างประวัติใหม่ ผ่อนให้ตรงเวลา เนื่องจากประวัติการผิดนัดชำระหนี้เป็นปัจจัยหนึ่งในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อของธนาคาร ดังนั้นควรพยายามสร้างประวัติใหม่ให้ดี ผ่อนชำระหนี้ให้ตรงเวลาเป็นเวลาอย่างน้อย 12 เดือน เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าฐานะทางการเงินกลับมาเป็นปกติ
  4. เคลียร์หนี้ NPL ให้จบ เก็บหลักฐานการชำระหนี้ให้ครบ สถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้จะออกหลักฐานยืนยันมาให้ หลังจากเคลียร์หนี้เสียนั้นๆ ครบแล้ว เพื่อใช้แสดงกับธนาคารที่จะขอสินเชื่อครั้งใหม่ได้

แบงก์ชาติออก “มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย” ในช่วงโควิด-19

แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมา ประเทศไทยจะเป็นหนึ่งในประเทศที่จัดการกับปัญหาโควิด-19 ได้ดีเป็นอันดับต้นๆ ของโลก แต่มาตรการควบคุมที่เข้มงวดต่างๆ ก็ได้ส่งผลต่อภาคธุรกิจทั้งระบบ โดยเฉพาะกลุ่มคนแรงงานที่ขาดรายได้และได้รับผลกระทบหนัก ซึ่งมักมีปัญหาการเงินกันอยู่แล้ว และเป็นสิ่งที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือแบงก์ชาติ กังวลมากที่สุดที่จะมีเรื่องปัญหาหนี้เสียตามมา

ในช่วงที่ผ่านมา แบงก์ชาติร่วมกับสถาบันการเงินร่วมกันออกมาตรการขั้นต่ำช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยเฉพาะลูกหนี้รายย่อยและธุรกิจ SMEs (มาตรการช่วยเหลือระยะที่ 1) และมาตรการดังกล่าวได้ครบกำหนดในช่วงมิถุนายนที่มา แต่ยังไม่เพียงพอที่จะช่วยให้ลูกหนี้รายย่อยสามารถผ่านช่วงที่มีความไม่แน่นอนสูงนี้ไปได้

แบงก์ชาติจึงได้ออก “มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย ระยะที่ 2” ในหลายด้าน ทั้งการลดเพดานดอกเบี้ย เช่น บัตรเครดิตลงเหลือ 16% (เดิม 18% ต่อปี) รวมถึงวงเงินสินเชื่ออื่นๆ การเปลี่ยนหนี้บัตรเครดิตในกลุ่มลูกหนี้ชั้นดี ให้สามารถย้ายไปเป็นสินเชื่อระยะยาวได้ ด้วยอัตราดอกเบี้ย 12% ต่อปี และไม่ส่งผลต่อประวัติด้านเครดิต ในส่วนของลูกหนี้ที่ติด NPL นั้น จะมี “โครงการคลินิกแก้หนี้” สำหรับหนี้รวมไม่เกิน 2 ล้านบาท คอยช่วยเหลือแก้ปัญหา ปรับโครงสร้างหนี้ และมีนโยบายพิเศษช่วยเหลือในช่วงโควิด-19 รวมถึงการก่อหนี้ใหม่ จากแต่เดิมหากเป็น NPL จะห้ามก่อหนี้ใหม่เป็นเวลา 5 ปี แบงก์ชาติได้เพิ่มเกณฑ์ใหม่ โดยสามารถก่อหนี้ใหม่ได้เมื่อชำระเงินต้นอย่างน้อย 50% และลดดอกเบี้ยลงให้อีก 2%

จะเห็นได้ว่า หากหนี้ของเรากลายเป็นหนี้เสียแล้วนั้น จะทำให้เราเสียทั้งเครดิต เสียเวลา และเสียเงินเพื่อจ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่สูงขึ้น ดังนั้น พฤติกรรมการชำระหนี้ให้ตรงเวลา จึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดเมื่อเราได้ก่อหนี้ขึ้นมา

ที่มา :

https://www.moneyguru.co.th/personal-loan

https://www.home.co.th/hometips/topic-11828

https://kasikornbank.com/TH/business/sme/KSMEKnowledge/article

https://www.bot.or.th/covid19/Pages/content/retail/measures/default.aspx

สอบถามข้อมูลนักลงทุน

Contact us