Investor Relations

Outstanding Investor Relations Awards 2017 & 2020

SET Symbol RS
Last Done 13.10 THB
Change -
% Change -%
Volume -
Day's Range - - -
52 Weeks' Range 12.60 - 15.20
Updated 11 Apr 2024 16:39

IR Sharing

“ลงทุนใน Green Bond ที่ทำให้ผู้ลงทุนได้อะไรมากกว่าผลตอบแทน”

ตลอดช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาจะเห็นว่านักลงทุนทั่วโลกต่างมุ่งเน้นไปที่ความยั่งยืนของธุรกิจ และให้ความสำคัญในเรื่องสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) โดยนักลงทุนสถาบันได้ปรับปรุงกลยุทธ์และแนวทางการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ เช่น หุ้น และตราสารหนี้ ในการนำปัจจัยด้าน ESG มาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการคัดเลือกสินทรัพย์ที่จะเข้าไปลงทุน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การลงทุนที่สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดี และยังสร้างความยั่งยืนในระยะยาวอีกด้วย

ตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืน (ESG Bond)

ตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืน (ESG Bond) ประกอบด้วยตราสารหนี้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond) ตราสารหนี้เพื่อพัฒนาสังคม (Social Bond) และตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืน (Sustainability Bond) ที่ผู้ออกระดมทุนเพื่อนำเงินไปดำเนินธุรกิจภายใต้แนวคิดการเติบโตอย่างยั่งยืน (Sustainable development) โดยมุ่งพัฒนาสิ่งแวดล้อม สังคม และการมีธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance)

Green Bond...การลงทุนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

วันนี้จะมาทำความเข้าใจเรื่องตราสารหนี้สีเขียว หรือที่เรียกว่า Green Bond ซึ่งถือเป็นเครื่องมือทางการเงินอย่างหนึ่งที่มีส่วนช่วยสนับสนุนการลดภาวะโลกร้อน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระดมทุนสำหรับโครงการต่างๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น พลังงานสะอาด การฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม การขนส่ง และอาคารสีเขียว เป็นต้น ส่วนนักลงทุนก็ได้รับผลตอบแทนในรูปของคูปอง (Coupon) หรือดอกเบี้ยหน้าตั๋ว ซึ่งที่ผ่านมา ผู้ออกมักกำหนดเป็นอัตราคงที่ตลอดอายุของตราสาร

ความแตกต่างจากหุ้นกู้ทั่วไป

หุ้นกู้ที่เราคุ้นเคย จะเป็นลักษณะของหุ้นกู้เพื่อธุรกิจ คือมีบริษัทออกหุ้นกู้มาเพื่อระดมทุนจากนักลงทุนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเงินลงทุนที่ได้ไปใช้ในธุรกิจ โดยผู้ออกหุ้นกู้จะจ่ายผลตอบแทนตามสัญญา และจ่ายเงินต้นเพื่อไถ่ถอนในงวดสุดท้าย หุ้นกู้จึงเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ทางเลือกที่ให้ผลตอบแทนคงที่ ซึ่งนักลงทุนจะเลือกถือหุ้นกู้เพื่อกระจายความเสี่ยงในการลงทุน ในขณะที่ Green Bond เป็นหุ้นกู้ที่ระดมทุนโดยไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเงินลงทุนนั้นมาใช้จ่ายในธุรกิจโดยตรง แต่เป็นการระดมทุนเพื่อความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และความยั่งยืนแทน

Green Bond ผู้เกี่ยวข้องและผลตอบแทน

Green Bond ยกระดับตลาดทุนไทยตอบโจทย์ความยั่งยืน

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล โดยมองว่าการดำเนินธุรกิจโดยไม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตชุมชน เป็นความเสี่ยงสำคัญเชิงกลยุทธ์ทางธุรกิจ ส่งผลต่อชื่อเสียง ภาพลักษณ์ และมูลค่าของสินทรัพย์ของบริษัท อีกทั้งอาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนในการระดมทุน และผลการดำเนินงานด้วย ดังนั้น ก.ล.ต. จึงได้สนับสนุนให้มีการออก Green Bond โดยได้ออกเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลเพื่อรองรับการออกและเสนอขาย Green Bond และให้มีการยกเว้นค่าธรรมเนียมขออนุญาตและไฟลิ่งอีกด้วย

สำหรับปี 2563 Green Bond ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ซึ่งมีทั้งองค์กรธุรกิจและหน่วยงานรัฐหลายรายออกขายตราสารหนี้ดังกล่าว ครั้งนี้เราขอยกตัวอย่าง Green Bond ของ 3 รายใหญ่ที่ออกในปีนี้ ดังนี้

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ESG เข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินธุรกิจมากยิ่งขึ้น ซึ่งทั้งผู้ลงทุนสถาบันขนาดใหญ่ และบริษัทจัดการลงทุน ต่างยกประเด็นนี้มาเป็นปัจจัยหลักในการลงทุน เช่นเดียวกับการดำเนินธุรกิจของ RS ที่ให้ความสำคัญเรื่องการเติบโตของธุรกิจโดยการมุ่งเน้นคุณภาพการออกผลิตภัณฑ์และบริการ ให้ความสำคัญต่อการดูแลผู้บริโภค ควบคู่ไปกับการเติบโตธุรกิจแบบยั่งยืน ครอบคลุมทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

ที่มา:

www.thaibma.or.th

www.finnomena.com

www.efinancethai.com

www.prachachat.net

 

 

Information Request

Contact us