นักลงทุนสัมพันธ์

Outstanding Investor Relations Awards 2017 & 2020

ชื่อย่อหุ้น RS
ราคาล่าสุด 12.80 THB
เปลี่ยนแปลง -0.10
% เปลี่ยนแปลง -0.78%
ปริมาณซื้อขาย 94,929
ช่วงราคาระหว่างวัน 12.80 - 12.90
ช่วงราคาใน 52 สัปดาห์ 12.00 - 15.20
ปรับปรุงเมื่อ 26 เม.ย. 2567 13:30

สาระความรู้ by IR

"ภาวะหนี้ครัวเรือนกับโอกาสของธุรกิจบริหารสินทรัพย์"

หนี้ครัวเรือนล่าสุดไตรมาส 3/2563 เพิ่มสูงสุดในรอบ 18 ปี คิดเป็น 87% ต่อ GDP ไทย

หนี้ครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องจากพฤติกรรมครัวเรือนสมัยใหม่เน้นการใช้จ่ายมากกว่าการออม รวมทั้งภาวะเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ผ่านมารัฐบาลได้ออกมาตรการเพื่อช่วยเหลือผู้บริโภค เช่น ลดอัตราดอกเบี้ย ยืดเวลาการชำระหนี้ สินเชื่อ soft loan โครงการคลินิกแก้หนี้ และการโอนหนี้ไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ (AMC) ในการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งช่วยให้ภาคธุรกิจและประชาชนสามารถก้าวผ่านวิกฤติไปได้ แต่หากมาตรการสิ้นสุดลงในช่วงกลางปีนี้เราอาจเห็นตัวเลขหนี้เสียในระบบที่เพิ่มสูงขึ้นมาก

คนไทยกู้เงินจากแหล่งใดบ้าง และส่วนใหญ่กู้ไปใช้ทำอะไร

หนี้ส่วนใหญ่ถูกกู้ยืมมาจากสถาบันการเงิน ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ซึ่งทั้งสองส่วนนั้นรวมกันมีมูลค่าหนี้ประมาณ 9.8 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 71% ของหนี้ทั้งหมด

กลุ่มสินเชื่อที่เติบโตเร็ว ก็คือ สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค (ที่อยู่อาศัย-รถยนต์-บัตรเครดิต-สินเชื่อส่วนบุคคล) โดยสิ้นไตรมาส 3/2563 ขยายตัว 5% จากปีก่อน จากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในขณะเดียวกัน ยอดคงค้างสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPLs) ยังอยู่ในระดับสูงที่ 513.9 พันล้านบาท หรือ 3% ของหนี้รวม โดยแนวโน้มของ NPLs ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

ธุรกิจบริหารสินทรัพย์...เข้ามาช่วยแก้ปัญหา NPLs ของสถาบันการเงินและลูกหนี้

ธุรกิจบริหารสินทรัพย์ (AMC) คือ ธุรกิจบริหารสินทรัพย์ NPLs โดยการซื้อ NPLs จากธนาคารและสถาบันการเงินอื่น และนำมาบริหารจัดการด้วยการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้เพื่อให้ได้ข้อตกลงที่เป็นที่พึงพอใจของทุกฝ่าย

จากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน หากมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้สิ้นสุดลงเราจะเห็น NPLs เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้สถาบันการเงินออกมาขาย NPLs เพื่อรักษาคุณภาพของสินทรัพย์ และนั่นเป็นโอกาสของธุรกิจ AMC ที่จะสามารถเข้าซื้อหนี้ได้ราคาที่ถูกลง และยังเข้าไปช่วยเหลือให้สถาบันการเงินสามารถปล่อยสินเชื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบกับมีคุณภาพสินทรัพย์ที่ดี และช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยด้วยการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อแบ่งเบาภาระในการชำระหนี้อีกด้วย

AMC รายใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ

สำหรับธุรกิจบริหารสินทรัพย์ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ มี 3 แห่งด้วยกัน ได้แก่ BAM JMT และ CHAYO โดยปัจจุบันมีสินทรัพย์รวมกันอยู่ที่ 137,140 ล้านบาท โดย BAM เป็นผู้เล่นในตลาดที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งเน้นซื้อหนี้เสียที่มีหลักประกันเป็นหลัก (Secured loan) ในขณะที่ JMT และ CHAYO เน้นกลุ่มบริหารหนี้ที่ไม่มีหลักประกัน (unsecured loan) เรามองเห็นปัจจัยบวกที่จะส่งผลให้ธุรกิจนี้เติบโตในปีนี้จากปริมาณหนี้เสียในระบบสถาบันการเงินที่อาจเพิ่มสูงขึ้นมากจากผลกระทบ COVID-19 และได้รับประโยชน์จากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรและอัตราดอกเบี้ย MLR ที่ลดลง

RS จับมือกับ Chase เข้าสู่ธุรกิจใหม่บริหารสินทรัพย์-สินเชื่อ ต่อยอดการเติบโตธุรกิจ Commerce

จากกลยุทธ์ New S-Curve ของ RS ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการทำ M&A หรือการควบรวมกิจการ ล่าสุด RS เข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุน 35% ใน Chase จำนวน 2.7 ล้านหุ้น มูลค่า 920 ล้านบาท ดำเนินธุรกิจบริหารหนี้สิน ปล่อยสินเชื่อ รวมถึงการทวงถามหนี้ โดยมีแผนเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อย่างเร็วที่สุดภายในสิ้นปี 2565

การทำ M&A ครั้งนี้ถือเป็นการขยายไปยังธุรกิจใหม่ โดยทางฝั่ง Chase มีมูลค่าพอร์ตให้บริการติดตามหนี้สินกว่า 45,000 ล้านบาท แบ่งเป็นการบริหารสินทรัพย์ (AMC) ในกลุ่มเท่ากับ 27,000 ล้านบาท และมีพนักงานติดตามหนี้มากกว่า 400 คน โดยในฝั่งของ RS เองก็มีจุดแข็งทางธุรกิจ Commerce ทั้งระบบ Telesales และพนักงาน call center ที่แข็งแกร่งเกือบ 500 คน รวมถึงสื่อทั้งทีวี วิทยุ และออนไลน์ ซึ่งเห็นโอกาสในการใช้ทรัพยากรสื่อเพื่อโปรโมทการบริการทางการเงินในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการพัฒนาองค์ความรู้ร่วมกัน นอกจากนี้ RS ยังมีแผนการทำ M&A อีกในปีนี้ เพื่อหาพันธมิตรก้าวไปสู่โอกาสใหม่ๆ และต่อยอดการเติบโตของ Entertainmerce Model ต่อไป

ที่มา:
www.bot.or.th
www.set.or.th
www.marketeeronline.com

สอบถามข้อมูลนักลงทุน

Contact us